ค่ายวิทยาศาสตร์
สานสัมพันธ์ฉันท์ วมว. ครั้งที่ 16
29 มี.ค. - 1 เม.ย. 2567
คณะวิทยาศาสตร์ ม.อ.
ค่ายวิทยาศาสตร์
สานสัมพันธ์ฉันว์ วมว.
ครั้งที่ 16
Sustainability
Empowerment
Sharing
Innovation
วัตถุประสงค์
  • เพื่อสานสัมพันธ์และแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ระหว่างนักเรียน ครู อาจารย์ และผู้เกี่ยวข้องในเครือข่ายโครงการ วมว.
  • เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เชิงบูรณาการด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นผ่านการทัศนศึกษาดูงาน Workshop และกิจกรรมต่าง ๆ
ข่าว

TBA

ผู้บรรยายพิเศษ
รศ.ดร.วรากร ลิ่มบุตร
สร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ฉบับนักวิทย์
รองผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยความเป็นเลิศด้านการวิเคราะห์สารปริมาณน้อยและไบโอเซนเซอร์
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพและวิทยาศาสตร์ประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
รศ.ดร.เอกวิภู กาลกรณ์สุรปราณี
แชร์ไอเดีย ในการสร้างมูลค่าน้ำยาง
เจ้าของรางวัล PST Rising Star 2022
ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนานวัตกรรมยางพารา
สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ผศ.ดร.สิรวิชญ์ อิทธิโสภณพิศาล
การสื่อสารวิทยาศาสตร์
เจ้าของรางวัลชนะเลิศ โครงการ FameLab Thailand 2021 และ รางวัล People's Choice Award
สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ดร.ธงชัย ชิวปรีชา
นักเรียน วมว. หัวรถจักรขับเคลื่อนประเทศในอนาคต
ผู้อำนวยการกิตติคุณโรงเรียนกำเนิดวิทย์
ผู้อำนวยการคนแรกของโรงเรียนกำเนิดวิทย์
ผู้อำนวยการคนแรกของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ อดีตผู้อำนวยการ สสวท
กำหนดการ

หมายเหตุ

  • กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
  • การแสดงของนักเรียน : แบ่งเป็นคู่ศูนย์ “ไม่มีรางวัล”
  • กิจกรรมทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ / กีฬาสานสัมพันธ์ : แบ่งตามกลุ่ม A, B, C “มีรางวัล”
วันที่
นักเรียน
ผู้บริหาร ครู และเจ้าหน้าที่
29 มี.ค. 2567
ชุดนักเรียนของแต่ละคู่ศูนย์ พร้อมสูท (ถ้ามี)
ชุดสุภาพ
30 มี.ค. 2567
ชุดสุภาพแบบลำลองและเสื้อค่ายสำหรับทำกิจกรรมนอกสถานที่
(พร้อมของใช้ส่วนตัว เช่น ร่ม เสื้อกันฝน ยาประจำตัว)
เสื้อค่ายคอโปโล
31 มี.ค. 2567
ช่วงเช้า: ชุดพละของแต่ละศูนย์
ช่วงเย็น: ชุดประจำถิ่น/ชุดสำหรับการแสดง
ชุดสุภาพ
Workshops
จาก Idea สู่ ชิ้นงาน ด้วย 3D Printer

เพื่อให้นักเรียนมีความรู้และเข้าใจถึงการสร้างนวัตกรรมด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติมุ่งเน้นให้ปฎิบัติได้จริงด้วยเครื่องมืออย่างง่ายและสามารถคิดนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้ให้ช่วยแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้

สืบจากแสง

Workshop นี้จะอธิบายธรรมชาติของแสงในแง่มุมที่น่าสนใจและจำลองการประยุกต์ใช้แสงในงานด้านต่างๆ เช่น ด้านพิสูจน์หลักฐาน ผ่านกิจกรรมที่นักเรียนได้ลงมือทำด้วยตนเอง

ถ่านแม่เหล็ก for Sustainable Development Goals (SDGs)

การเข้าใจหลักการที่เกี่ยวเนื่องทางเคมี และ concept ของ Sustainable Development Goals (SDGs) ผ่านการสังเคราะห์ถ่านที่มีคุณสมบัติแม่เหล็ก และ ใช้เป็นโมเดลตัวดูดซับสารพิษในแหล่งน้ำ ซึ่งนักเรียนสามารถทำได้ด้วยตัวเอง และ นำความรู้ไปใช้ประยุกต์ในงานต่อไปได้

From ecological point of view, is planting trees actually a good thing?

- เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ เท่าทันสถานการณ์ปัญหาด้านการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในปัจจุบัน
- สามารถอธิบายปัญหาที่เกิดขึ้นได้โดยอาศัยความรู้หลักการทางนิเวศวิทยา ซึ่งเป็นศาสตร์แขนงหนึ่งทางชีววิทยา
- เพื่อให้นักเรียนมีทัศนคติที่ดีและเห็นคุณค่าของธรรมชาติและ biodiversity

การตรวจสอบฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระจากสารสกัดเห็ด

การทดสอบฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากเห็ด รูปแบบคืออาจจะมีสารสกัดจากเห็ดแครง (unknown) ซึ่งอาจจะมี unknown 1, 2, และ 3 แต่ละกลุ่มจะได้ unknown เพียงกลุ่มละ 1 ตัว และ positive control การทดลองแบบคร่าว ๆ คือการผสมสารละลาย DPPH กับ unknown หรือ positive control ที่ความเข้มข้นต่าง ๆ บ่มเป็นเวลา 30 นาที แล้วทดสอบการดูดกลืนแสง นำผลที่ได้ไปหา % การยับยั้ง DPPH radical และค่า IC50 ของ unknown และตัว positive control

การสร้างโมเดล 3D เบื้องต้น

เพื่อให้นักเรียนสามารถสร้างภาพ 3D เพื่อประกอบสื่อการสอนต่างๆหรือเกมที่ตนเองต้องการพัฒนาขึ้นได้ด้วยตนเอง

การรับความรู้สึก

เพื่อได้ทราบถึงการทำงานขั้นพื้นฐานของร่างกายในการรับความรู้สึกต่าง ๆ คือ ความชัดของสายตา, การตอบสนองของรูม่านตาต่อแสง, ตาบอดสี, การได้ยิน, stretch reflex, และ อุณหภูมิกายและการรับสัมผัส

Climate change : There is no planet B

- เพื่อให้ผู้เข้าร่วมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ สาเหตุ และผลกระทบของ climate change
- เพื่อให้ผู้เข้าร่วมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ Climate action, Net Zero และเป้าหมายของประเทศไทย
- เพื่อให้ผู้เข้าร่วมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ Carbon footprint และ Carbon credit
- เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสามารถคำนวน carbon footprint เบื้องต้นได้

กิจกรรมแหล่งเรียนรู้
โหนด นา เล
ศูนย์วิสาหกิจชุมชนตาลโตนด โหนด นา เล
ชุมชนท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ด้วยวิถีการเกษตร เรียนรู้วิถีท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เสน่ห์ภูมิปัญญาแบบโหนด นา เล เรียนรู้และทดลองทำแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวและโตนด เช่น สบู่ แชมพู โลชั่น ศึกษาวิถีชาวเลในทะเลสาบสงขลา ลองวางอวน ทอดแห จับปลาดุกทะเลแบบภูมิปัญญาท้องถิ่น
สวนป๋าเปรม
ศูนย์บริการการเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลน สวนประวัติศาสตร์พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
ศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศน์ป่าชายเลนในบริเวณสวนประวัติศาสตร์ฯ สังคมพืชและสัตว์ ที่เกิดอยู่ริมคลองวง ซึ่งเป็นคลองที่ไหลงลงสู่ทะเลสาบสงขลา และได้รับอิทธิพลน้ำขึ้นน้ำลงจากทะเลสาบที่เชื่อมต่อกับทะเลน้ำเค็ม ทำให้คลองวงในบริเวณนี้มีสภาพน้ำกร่อย จึงเป็นปัจจัยแวดล้อม ที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของพันธุ์ไม้ อีกทั้งในป่าชายเลน ยังเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน รวมถึงสัตว์อื่นๆ อีกนานับชนิด
ชุมชนเกาะยอ
ศึกษาเรียนรู้วิถีชีวิตของชาวบ้านและเยี่ยมชมเสน่ห์ของ ‘เกาะยอ’ โดยชาวบ้านที่นี่มักจะประกอบอาชีพเกษตรกรรมและประมง พื้นที่ที่นี่เหมาะกับการทำสวนผลไม้แบบสุมรุม คือ การปลูกต้นไม้หลายชนิดในพื้นที่เดียว นอกจากการมาเรียนรู้วิถีชีวิตของชาวบ้าน ชุมชนเกาะยอ แล้ว เที่ยวชมโบราณสถาน วัดแหลมพ้อ และ ชมผ้าทอเกาะยอ ผ้าพื้นเมืองที่มีชื่อเสียง
หอดูดาว
หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา
ศึกษาเรียนรู้ดาราศาสตร์ที่สำคัญของภาคใต้ สนับสนุนวิชาการดาราศาสตร์แก่ชุมชน บริการวิชาการทางดาราศาสตร์และงานวิจัยดาราศาสตร์สำหรับนักเรียน นักศึกษา และสถาบันการศึกษาในภาคใต้ และยังเป็นศูนย์เรียนรู้ดาราศาสตร์มุสลิมอย่างครบวงจร จุดชมวิวที่มีมุมเปิดกว้างมากกว่า 270 องศา ให้สามารถมองทัศนียภาพของเมืองสงขลาได้
ย่านเมืองเก่า
แหลมสมิหลา
ที่พัก
ติดต่อ
ฝ่ายอำนวยการ

คุณธมลพรรณลออ ขุนศรี (หยก)
086-3926539

ฝ่ายลงทะเบียน

คุณวรัษฐาน ราชยอด (อิม)
085-5461499

ฝ่ายที่พัก

คุณกุสุมา อชิรเสนา (เจน)
089-6599693

ฝ่ายยานพาหนะ

คุณสิริพรรณ จันทวาท (กุ๊ก)
095-5251044

ฝ่ายพยาบาล

คุณภัชริยา อรุโณทัย (พิม)
095-4287523

อยู่ระหว่างดำเนินการ

ขออภัยในความไม่สะดวก